NỘI DUNG BÀI VIẾT
รีไฟแนนซ์บ้าน vs ขอลดดอกเบี้ย | ผ่อนบ้านครบ 3 ปีเลือกแบบไหนคุ้มสุด ผ่อนบ้านต้องดู
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์บ้าน vs ขอลดดอกเบี้ย | ผ่อนบ้านครบ 3 ปีเลือกแบบไหนคุ้มสุด ผ่อนบ้านต้องดู
สวัสดีครับผม วิน Guru Living ครับ วันนี้ผมจะคุยกับหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากๆและผมเชื่อว่าเป็นปัญหาของหลายๆคนเลยนะครับ นั่นคือเมื่อเราผ่อนบ้านไปครบ 3 ปีแล้วเราควรที่จะไปรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่เลยดีไหม หรือจะขอ retention หรือที่เรียกว่าขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมต่อ ดีหรือเปล่า มันมีหลักการคิดหลักการดูยังไงบ้างแล้ว 2 แบบนี้มันแตกต่างกันยังไงบ้างเดี๋ยววันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ
ผมขอปูพื้นฐานให้สำหรับคนที่เพิ่งมาดูคลิปนี้คลิปแรกฟังนิดนึงก่อนนะครับ โดยปกติแล้วครับอัตราดอกเบี้ยบ้านเนี่ยเขาจะถูกในช่วง 3 ปีแรกเท่านั้นครับ 3 ปีแรกเนี่ยถ้าเอาราคาตลาดณเวลานี้นะครับจะอยู่ที่ประมาณ 34 % ต่อปีครับ แล้วพอพ้นจากปีที่ 3 เป็นอัตราดอกเบี้ยก็จะลอยตัวแล้วครับเป็น mrr เท่าไหร่ก็ว่ากันไปครับแต่โดนค่าเฉลี่ยแล้วก็จะอยู่ที่ประมาณ 6% ต่อปี
ดังนั้นครับสำคัญมากๆเลยนะฮะทุกคนที่ผ่อนบ้านครบ 3 ปีแล้วควรจะต้องหาวิธีที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยมันกลับมาถูกเหมือนในช่วง 3 ปีแรกครับซึ่งทั้งการรีไฟแนนซ์และการรีเทนชั่นที่เรากำลังคุยกันอยู่ในคลิปนี้ครับทั้งสองวิธีนี้ล้วนช่วยให้อัตราดอกเบี้ยกลับมาถูกลงทั้งคู่ครับ
รีไฟแนนซ์คืออะไร https://youtu.be/NsI2IwVv8g0
งั้นกลับมาที่คำถามของเรากันครับว่าแล้วตกลงรีไฟแนนซ์กับดีเทนชั่นเราควรเลือกอะไรดีทั้ง 2 อันนี้มีอะไรที่แตกต่างกันบ้างเดี๋ยวผมจะมาไล่ให้ฟังทีละข้อนะครับ
รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance)
รีไฟแนนซ์บ้านเป็นการย้ายสินเชื่อจากธนาคารเดิมไปธนาคารใหม่ครับ ซึ่งพอเราย้ายไปเริ่มต้นกับธนาคารใหม่เราจึงได้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ในเรทราคาที่ต่ำครับซึ่งถ้าจะเอาราคาในตลาด ณ เวลานี้ครับก็อย่างที่บอกไปว่าอยู่ที่ประมาณ 3% เท่านั้นเองครับอัตราดอกเบี้ยถูกมากในช่วงนี้
ซึ่งแน่นอนครับว่าการขอสินเชื่อใหม่จะต้องมีกระบวนการยื่นเอกสารรายได้พร้อมกับ การตรวจสอบเครดิตทางการเงินเข้ามาไม่ได้ต่างอะไรกับการที่เราไปขอสินเชื่อบ้านตอนแรกเลยครับ
รีเทนชั่นบ้าน
แต่สำหรับการรีเทนชั่นนะครับรีเทนชั่นถ้าแปลเป็นไทยคือการขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมครับซึ่งกระบวนการนี้จะแตกต่างจากการรีไฟแนนซ์นะครับคือเราไม่ต้องย้ายธนาคารเราทำกับธนาคารเดิมที่เราผ่อนอยู่เลยครับเพียงแค่แจ้งธนาคารว่าเราต้องการที่จะรีเทนชั่นหรือขอลดดอกเบี้ยเมื่อเราผ่อนครบ 3 ปีหรือแล้วแต่เงื่อนไขธนาคารกำหนดรับเขาก็จะลดอัตราดอกเบี้ยปรับลงมาให้เราครับ แต่ผมต้องบอกนะครับว่า อัตราดอกเบี้ยที่เขาจะลดมาให้เราเนี่ยจำไม่ได้ถูกเท่ากับในช่วง 3 ปีแรกครับโดยส่วนมากค่าเฉลี่ยนะครับธนาคารจะลดให้เหลืออยู่ที่ ประมาณ 45% ต่อปีครับ
ค่าใช้จ่าย รีไฟแนนซ์ vs รีเทนชั่น
แต่นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยแล้วมันยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาประกอบด้วยนะครับการที่เราจะเลือกว่าจะ refinance ดีหรือรีเทนชั่นดี ปัจจัยที่ว่านั่นคือค่าใช้จ่ายครับเป็นอีกปัจจัยหลักที่ผมคิดว่าทุกคนควรจะเอามาประกอบการตัดสินใจเหมือนกันครับ
ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์
ค่าประเมินราคาทรัพย์ ประมาณ 35 พันบาท
ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้
ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร เช่น
ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ
ประกันอัคคีภัย
แต่การรีเทนชั่นคับ ใช้จ่ายจะน้อยกว่านั้นมากครับโดยส่วนมากจะคิดเป็นประมาณนะครับ 12 เปอร์เซ็นต์ของยอดวงเงินกู้คงเหลือหรือบางธนาคารไม่มีค่าธรรมเนียมตรงนี้ก็มีเหมือนกันนะครับ
ดังนั้นถ้าจะสรุปง่ายๆนะครับโดยส่วนมากแล้วการรีไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการรีเทนชั่นนะครับ ซึ่งก็ต้องเอาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาด้วยนะครับ
สรุป รีไฟแนนซ์ vs รีเทนชั่น
ดังนั้นเรามาสรุปกันครับว่าตกลงแล้วเราควรรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชั่นดีจะเอาเกณฑ์อะไรเป็นตัวพิจารณา
1.เครดิตทางการเงิน
ดูสถานะทางการเงินของเราตอนนี้ครับว่าวันนี้เรามีเครดิตทางการเงินดีเพียงพอที่จะไปยื่นกู้ขอสินเชื่อใหม่หรือเปล่าดูง่ายครับว่าวันนี้สัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ของเราอยู่ที่เท่าไหร่แล้ว
หรือวันนี้รายได้ของเรามีความมั่นคงมากพอจะขอสินเชื่อหรือเปล่า
การ refinance ครับ ครับสำหรับพนักงานประจำหรือคนที่มีเงินเดือนผมคิดว่าไม่น่าจะติดปัญหาอะไรครับที่จะมีปัญหาส่วนมากน่าจะเป็นพวกกลุ่มอาชีพอิสระผู้ประกอบการที่ บางจังหวะบางช่วงเวลาเครดิตทางการเงินไม่ดีแบบนี้ครับการรีไฟแนนซ์อาจจะทำได้ยากก็อาจจะต้องมาเลือกเป็นรีเซฟชั่นแทน เพราะไม่ต้องมีการยื่นเอกสารอะไรแค่ทำเรื่องเข้าไปที่ธนาคารเดิมก็จบแล้ว
2.ดูค่าใช้จ่าย
เรื่องนี้สำคัญมากนะครับเรื่องเงินเงินทองทองผมคิดว่าเราควรจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับเวลาพูดถึงเรื่องรายจ่ายหรือตัวเลขครับอยากให้เราคำนวณออกมาชัดๆแล้วมาเปรียบเทียบกันเลยครับว่าระหว่างการรีไฟแนนซ์มีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่านี้และการรีเทนชั่นมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่านี้ และจะประหยัดดอกเบี้ยได้เท่านี้บาทเนี่ยครับอยากให้คำนวณออกมาเลย เดี๋ยวผมสัญญานะครับว่าในคลิปถัดไปเนี่ยเดี๋ยวผมจะคำนวณเป็นตัวเลขออกมาให้ดูทั้งสองแบบเลยว่าตกลงแล้วแบบไหนมันประหยัดดอกเบี้ยไปได้เท่าไหร่นะครับขอติดไว้ก่อน แต่ว่าถ้าใครคำนวณเป็นอยู่แล้วก็ลองคำนวณ เพื่อประกอบการพิจารณาได้เลยนะครับ
ดังนั้นทั้งหมดนี้นะครับก็เป็นความแตกต่างระหว่างการรีไฟแนนซ์และการ retention ที่เอามาเล่าให้ทุกคนฟังกันนะครับก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์และนำไปใช้กันได้นะครับซึ่งจริงทั้ง 2 วิธีครับมันคือการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างที่ผมบอกไปแล้วนะแต่นะครับมันก็ยังมีวิธีนะครับที่ช่วยทำให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้นและผ่อนบ้านได้เร็วขึ้นด้วยนะครับซึ่งในที่นี้ครับผมเคยทำคลิปไว้แล้ว
เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!
https://youtu.be/UdUpk9sNPOk
รีไฟแนนซ์บ้าน รีเทนชั่น ผ่อนบ้าน ดอกเบี้ยบ้าน ลดดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ย
7 ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้าน | Home Buyers Tips
Home Buyers Tips มาแนะนำ การวางแผนจะซื้อบ้านหลังแรก…หลาย ๆ คนกำลังซื้อบ้านหลังแรก ต้องทำอะไรบ้าง? เป็นมือใหม่ซื้อบ้าน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน จะกู้ซื้อบ้าน จะกู้แบงค์ยังไง? และไปไหนต่อ? มาดูคลิปนี้ค่ะ แล้วจะเข้าใจมากขึ้น… \”7 ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้าน\”
หาบ้านคอนโดฯ ได้ที่ : https://www.home.co.th
กู้ซื้อบ้าน
📌 ติดตามพวกเรา HomeBuyers เพิ่มเติมได้ที่
Website: home.co.th 👉 https://bit.ly/2BBz6LN
Facebook: home.co.th 👉 https://bit.ly/2VKzSNs
Instagram: @home.buyers.th 👉 https://bit.ly/2D66mLJ
Twitter: Home Buyers 👉 https://bit.ly/2VIiXLf
Line : Home Buyers 👉 https://bit.ly/3ipORWK
ติดต่อโฆษณาได้ที่ฝ่ายโฆษณา บริษัท โฮมบายเออร์ไกด์ จำกัด โทร. 084 425 9317
รีไฟแนนซ์บ้าน 2564 ธนาคารไหนดอกเบี้ยถูกสุด จะย้ายไปแบงค์ไหนดี?
รีไฟแนนซ์บ้าน 2564 ธนาคารไหนดอกเบี้ยถูกสุด จะย้ายไปแบงค์ไหนดี?
ก่อนที่เราจะเข้าไปคุยในเรื่องรายละเอียดของสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านตัวนี้ผมขออธิบายเรื่องเกี่ยวกับการ Refinance เบื้องต้นให้สำหรับคนที่ยังไม่มีพื้น ยังไม่มีความรู้ ว่าทำไมเราต้องรีไฟแนนซ์บ้าน และ รีไฟแนนซ์บ้านไปทำไมให้เพื่อนๆที่ยังไม่รู้ฟังก่อนสักนิดนึงนะครับ ใครรู้แล้วข้ามไปด้านในคลิปได้เลยนะครับ
รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร?
การรีไฟแนนซ์บ้านคือการ ขอสินเชื่อใหม่กับธนาคารใหม่ครับ อ้าวแล้วทำไมผ่อนกับธนาคารเดิมอยู่ดีๆทำไมต้องย้ายธนาคารด้วยหละ คือแบบนี้ครับโดยปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยบ้าน เขาจะถูกในช่วง 3 ปีแรก ซึ่งโดยค่าเฉลี่ยของตอนนี้นะครับ 3 ปีแรกก็จะตกอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ครับ ละครจบปีที่ 3 เนี่ยดอกเบี้ยก็จะลอยตัวขึ้นครับเป็น mrr เท่าไหร่ก็ว่ากันไป เท่าไหร่ก็ว่ากันไป ดอกเบี้ยจะขึ้นไปอยู่ประมาน 56% ต่อปีครับ ดังนั้นการรีไฟแนนซ์คือการไปขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่เพื่อที่จะได้กลับมาได้อัตราดอกเบี้ยถูกๆในช่วง 3 ปีแรกเหมือนเดิมครับ ซึ่งการ refinance เนี่ยจะเป็นการที่ทำให้เราประหยัดดอกเบี้ยไปได้หลักหลายแสนหลักล้านบาทเลยนะครับและที่สำคัญครับยังช่วยให้เราผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้นด้วย
ซึ่งตรงนี้ผมขออธิบายเร็วๆแค่นี้แล้วกันนะครับผมได้เคยทำคลิปอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการรีไฟแนนซ์ไว้แล้วอย่างละเอียดนะครับอยู่ในช่อง YouTube Channel นี้ถ้าเกิดว่าใครยังไม่ได้ดูนะครับสามารถกดด้านบนนี้นะครับเพื่อเข้าไปดูได้
https://youtu.be/NsI2IwVv8g0
คือตั้งแต่ต้นปี 2563 มาจนถึงต้นปี 2564
ก็อย่างที่ทุกคนทราบนะครับว่าเศรษกิจของประเทศและทั้งโลกกำลังประสบปัญหากันอย่างหนักหน่วงจริงๆครับ เนื่องจากวิกฤติ Covid 19 ที่ส่งผลกระทบภาคเศรษกิจทั้งระบบ และนั่นรวมไปถึงทำให้ภาค อสังหา และ การเงินก็ได้รับผลกระทบหนักมากเช่นกันครับ ซึ่งถ้าใครติดตามข่าวอยู่ก็น่าจะพอทราบกันว่า อัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ลงมาเยอะมากก ตั้งแต่ช่วงต้นปีครับ ลดกันทุกธนาคาร ทั้งค่า MRR , MLR, MOR ซึ่งตรงนี้ผมขอเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า ทั้งสามตัวนี้คืออะไร เกี้ยวยังไงกับคนที่จะซื้อบ้าน สามารถเข้าไปดูในลิ้ง
อัตราดอกเบี้ยบ้าน MRR MLR MOR คืออะไร
https://youtu.be/OBOLLWAmXiw
ดังนั้นแล้วสำหรับคนที่จะวางแผนรีไฟแนนว์บ้านในช่วงปี 2564 นี้ผมยังคิดว่า ยังคงเป็นอีกจังหวะที่ดีมากๆเลยครับเพราะเราจะได้อัตราดดอกเบี้ยในเรทที่ถูกครับ
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านสินเชื่อบ้านธนาคารออมสิน
https://youtu.be/DWxeWj7YAQ
ระยะเวลาขอ 30/04/2564
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.58%
MRR = 6.245%
ระยะเวลากู้ 40 ปี
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารธอส
https://youtu.be/HkcsXDVkII
ระยะเวลาขอ 30/06/2564
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.82% (วงเงินกู้มากกว่า 3 ล้านบาท)
MRR = 6.15%
ระยะเวลากู้ 40 ปี
วงเงินกู้มากกว่า 3 ล้านบาท
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารกรุงไทย
https://youtu.be/xfCDq2l3Io
สินเชื่อบ้านธนาคารกรุงไทย
ระยะเวลาขอ 31/03/2564
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.53%
MRR = 6.22%
จุดเด่นผลิตภันฑ์
ดอกเบี้ยปีแรกเริ่มต้น 0.64% ต่อปี
ธนาคารออกค่าจดจำนองให้ 1%
ฟรี ค่าธรรมเนียมยื่นกู้
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารกรุงศรี
https://youtu.be/HMz_SNuhPtY
ระยะเวลาขอ 31/03/2564
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.75% (มากกว่า 1.5 ล้านบาท)
MRR = 6.05%
ได้วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน
หากมีวงเงินเหลือ กู้เพิ่มสินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคชsm ได้
ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 30 ปี (ระยะเวลาผ่อนชำระรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี)
ฟรีค่าประเมินหลักประกัน มูลค่า 3,210 บาท
ธนาคาร UOB
ระยะเวลาขอ 31/03/2564
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 2.89% (ทำประกัน MRTA)
MRR = 7.35%
อนุมัติวงเงินไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน
และ 8590% สำหรับต่างจังหวัด
วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท (1530 ล้านบาท สำหรับต่างจังหวัด)
ย้ำอีกครั้งก่อนจะจบคลิปนี้นะคับ การรีไฟแนนซ์ผมย้ำอีกทีนะครับว่าเป็น Process ที่คนที่ผ่อนบ้านอยู่ควรจะต้องทำมากๆนะครับ เพราะอย่างที่บอกไปต้นคลิปว่าจะช่วยทั้งประหยัดดอกเบี้ยและช่วยให้ผ่อนหนี้บ้านหมดเร็วขึ้นได้ด้วย
ดังนั้นผมคิดว่าทุกๆคนพอเริ่มซื้อบ้านเริ่มผ่อนบ้านไปได้สักจะครบสามปี ผมว่าควรจะเริ่มๆหาข้อมูล,ศึกษา และ เปรียบเทียบดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และ เงื่อนไข แต่ละเจ้า เพื่อเตรียมความพร้อมกันนะครับ
ผมฝากไว้อีกสักหน่อยนะครับสำหรับคนที่อยากจะผ่อนบ้านให้หมดเร็วขึ้นกว่าเดิม อยากจะประหยัดดอกเบี้ย ผมได้เคยทำคลิปอธิบายเทคนิคผ่อนบ้านให้ประหยัดดอกเบี้ยไว้แล้วครับสามารถเข้าไปชมที่
เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!
https://youtu.be/UdUpk9sNPOk
รีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน2564 รีไฟแนนซ์2021refinance
รีไฟแนนซ์บ้านธอส รีไฟแนนซ์บ้านออมสิน รีไฟแนนซ์บ้านกรุงไทย รีไฟแนนซ์บ้านกรุงศรี รีไฟแนนซ์บ้านUOB
เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!
เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!
หนี้บ้านสำหรับหลายๆคนแล้วถือว่าเป็นหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุดและระยะเวลาการผ่อนชำระยาวนานที่สุดเลยก็ว่าได้นะครับ เพราะระยะเวลาที่ธนาคารเขาให้เราผ่อนบ้านเนี่ยเริ่มตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 40 ปีเลยก็มีครับ ซึ่งเอาเข้าจิงๆถ้าเราผ่อนไปเรื่อยๆตามที่ธนาคารเขาบอกนี่คือทำงานจนเกษียนเลยนะครับกว่าหนี้ของเราจะหมด
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่เรื่องระยะที่นานหรอกนะครับ การผ่อนบ้านให้จำไว้เลยนะครับว่ายิ่งเราผ่อนนานเท่าไร เรายิ่งเสียดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น เพราะอะไรหรอครับเพราะว่าการคิดดอกเบี้ยบ้านเนี่ยเขาจะคิดแบบ ลดต้นลดดอกครับ อธิบายง่ายๆว่าดอกเบี้ยจะคิดตามเงินต้นครับ ผมได้ทำคลิปอธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างระเอียดแล้วลองเข้าไปดูคลิปในช่องได้นะครับ
ดังนั้นไอการที่เราผ่อนบ้านเป็นเวลา 30 40 ปีเนี่ยนอกจากมันจะเป็นภาระระยะยาวมากๆแล้วเรายังต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกเยอะมากๆด้วยครับเดี๋ยวจะหาว่าผมเว่อร์จนเกินไป ผมจะคำนวนออกมาให้ดูกันเลยดีกว่าครับ
สมมุติว่าผมซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท ผมผ่อน 30 ปี โดยผมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งสัญญาอยู่ที่ 7% เหมือนที่ผมบอกทุกครั้งนะครับว่าที่ผมใช้ 7% เพราะเอาเอาเฉลี่ยทั้งสัญญาและปัดขึ้นนิดนึงเป็นค่าเผื่อเหลือความปลอดภัยเวลาคำนวน ดังนั้นถ้าเราเอาข้อมูลเหล่านี้เข้าไปคิดคำนวนในโปรกแกรม EZ Financial Calculator เราจะได้ออกมาว่า
เราจะต้องผ่อนธนาคารเดือนละ 19,959 บาท/เดือน
ถ้าผ่อนครบ 30 ปี เราจะต้องจ่ายค่างวดทั้งหมด = 7,184,265 บาท
ทุกคนไม่ได้ฟังผิดไปหรอกนะครับ กู้มาสามล้าน จ่ายจริง 7 ล้าน
นั่นหมายความว่าดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญานี่คือ 4 ล้านกว่าบาทเลยครับ
วิธีแรกครับคือการโปะหรือการผ่อนชำระเพิ่มจากที่ผ่อนอยู่
จริงๆวิธีนี้มีหลายท่านทำกันแล้วแต่ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่รู้นะครับว่าสามารถโปะเพิ่มได้ ฉันอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนครับว่าเงินที่เราผ่อนเพิ่มเข้าไปเนี่ยมันจะไปตัดแต่ในส่วนเงินต้นทั้งนั้นเลยครับยกตัวอย่าง
เช่นปกติแล้วผ่อนชำระค่าบ้านอยู่เดือนละ 10,000 บาทถ้าเราผ่อนเพิ่มเข้าไปอีกสักเดือนละ 1,000 บาท 1000 ที่เราใส่เพิ่มเข้าไปนี่แหละครับมันจะไปตัดเป็นส่วนของเงินต้นทั้งนั้นเลยดังนั้นการผ่อนเพิ่มต่อเดือนจึงช่วยให้นี่เราหมดเร็วขึ้นอย่างมากนะครับที่สำคัญจะช่วยประหยัดดอกเบี้ยด้วยเพราะเมื่อเงินต้นโดนตัดออกดอกเบี้ยที่เราจะต้องจ่ายก็ลดเป็นสัดส่วนตามไปด้วยครับ
วิธีแรกเห็นว่าหมดเร็วแล้วใช่ไหมครับมาแต่มันยังมีอีกวิธีที่ควรทำร่วมกัด้วยระหว่างที่เราโปะครับนั่นคือการรีไฟแนนซ์ทุกๆ 3 ปีครับ
รีไฟแนนซ์คือการขอสินเชื่อก้อนใหม่จากธนาคารครับ อาจจะเป็นธนาคารเดิมที่เรากู้อยู่หรือไปยื่นขอธนาคารใหม่ก็ได้ครับ นั่นหมายความว่าเราจะเปลี่ยนหนี้เดิมทั้งก้อน กลายมาเป็นหนี้ก้อนใหม่เลยครับ พูดง่ายๆว่าขอกู้ใหม่อีกรอบ แต่ที่พิเศษกว่านั้นก็คือ การรีไฟแนนซ์เราสามารถกำหนดแผนการในการผ่อนชำระได้หลากหลายมากขึ้นด้วยครับยกตัวอย่างเช่น
กรณีที่1 เราอยากผ่อนบ้านให้หมดเร็วขึ้น
เราอาจเลือกระยะเวลาผ่อนชำระให้สั้นลง ส่งเงินต่องวดให้มากขึ้น
จากของเดิมเราผ่อน ยอดสินเชื่อคงเหลือ 3,000,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี ผ่อนต่อเดือน 19,000 ถ้าเราอยากผ่อนให้หมดเร็วขึ้นเราอาจเลือกการ Refinace เป็น
ยอดสินเชื่อ 3,000,000 บาท ระยะเวลา 20 ปี ผ่อนต่อเดือน 15,000 บาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 เราอยากให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลง
จากยอดหนี้เดิมที่เราผ่อนธนาคารมาแล้ว 3 ปี ผมสมมุติว่า ถ้ายอดสินเชื่อเดิมเราคือ 3 ล้าน เราผ่อนมา 3 ปี เงินต้นอาจจะคงเหลือประมาณ 2.8 ล้านบาท และยอดเดิมเราผ่อนธนาคารอยู่ที่เดือนละ 19,000 บาท
ดังนั้นถ้าสรุปคร่าวๆจากทั้ง 2 วิธีที่ผมได้ยกมาให้ดูดีนะครับว่าในแต่ละเดือนที่เราผ่อนธนาคารเราควรจะผ่อนเพิ่มจากที่เราผ่อนอยู่ทุกเดือนครับเพราะมันจะช่วยตัดเงินต้นไปได้เยอะเมื่อเทียบกับเงินต้นไปได้เยอะนี่ก็จะหมดเร็วขึ้นดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายมันก็ลดลงด้วยเพราะเราผ่อนชำระครบ 3 ปีเราก็วางแผนที่จะ รีไฟแนนซ์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เหลือลดอัตราดอกเบี้ยอะไรก็ว่ากันไปนะครับซึ่งผมเชื่อว่าการทำแบบนี้จะช่วยประหยัดดอกเบี้ยให้เราได้เป็นเงินมหาศาลนะครับและทำให้นี่ของเราหมดเร็วขึ้นด้วยนะครับ
ดังนั้นสรถุปกันอีกทีนะครับ ถ้าเพื่อนๆฟังมาถึงตรงจุดนี้และกำลังผ่อนบ้านกันอยู่หรือกำลังวางแผนจะซื้อบ้าน สิ่งที่ผมอยากให้ทุกๆคนทำคือ วางแผนโปะเพิ่มต่อเดือนครับ จะมากจะน้อยไม่ว่ากันแต่อยากให้โปะนะครับ และช่วงไหนมีเงินพิเศษมีโบนัสอะไรก็แบ่งบางส่วนมาโปะได้ยิ่งดีครับ และเมื่อครบสามปีทุกๆสามปีก็ให้วางแผนที่จะรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชั่นเพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยลงมาให้มันถูกลงอีกนะครับ หมั่นทำแบบนี้ผมรับประกันเลยนะครับเผลอบางคนถ้าวินัยดีๆ สามารถโปะได้เยอะๆเนี่ย 10 ปีหนี้บ้านหมดก็มีเยอะแยะไปครับ เราจะได้เก็บเงินไว้สำหรับต่อยอดอนาคตหรือไว้ซื้อความสุขอะไรก็ว่ากันไปนะครับ
ผ่อนบ้าน เทคนิคผ่อนบ้าน ซื้อบ้าน ดอกเบี้ยบ้าน
อัตราดอกเบี้ยบ้าน MRR MLR MOR คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคนที่จะกู้ซื้อบ้าน ? | Guru Living
MRR MLR MOR คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคนที่กู้ซื้อบ้าน
MRR MLR MOR คนที่กำลังวางแผนจะขอินเชื่อกับทางธนาคารคงเคยได้ยินตัวย่อพวกนี้กันมาแล้วใช่ไหมครับ เพราะปรกติเวลาเราไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านมา พนักงานเขาจะบอกเป็น MRR บ้างหละ MLR อะไรบ้างหละ วันนี้ผมจะมาอธิบายคำศัพย์เหล่านี้กันครับว่ามันเกี่ยวข้องยังไงกับคนที่กพลีงวางแผนจะกู้ซื้อบ้าน มาดูกันครับ
ก่อนอื่นขออธิบายโครงสร้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือโครงสร้างของหนี้บ้านเราก่อนนะครับว่า โดยปรกติแล้วหนี้ที่เราไปกู้ธนาคารมาเนี่ยเขามีลักษณะการคิดดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง
โดยปรกติแล้วสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์แต่ละที่จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อนั้นๆเป็นสองลักษณะใหญ่ๆครับคือ
1.ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ไว้ตามที่เราได้ตกลงกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อนั้นๆ เช่นถ้าเราตกลงว่าเราจะขอกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ในช่วง 3 ปีแรกเราก็จะได้ดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ครับ ทางธนาคารจะไม่สามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลงกับเราไว้ได้
2 ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว ( Floating Rate )
อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวหมายความว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามที่สถาบันการเงินกำหนดครับ โดยอัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้สถาบันการเงินจะออกมากำหนดเป็นงวดๆแล้วแต่นโยบายในแต่ละช่วงครับ โดยจะอ้างอิงตามค่า MRR , MOR , MLR ในแต่ละช่วงเวลา
โดยปรกติการที่เราาไปกู้สินเชื่ที่อยู่อาศัย ทางธนาคารส่วนมากจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 1 3 ปีแรกเป็นแบบคงที่ Fixrate ครับและที่สำคัญเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างจะต่ำด้วยครับเช่น คิดคงที่ 3 ปีแรก 5 % และในปีที่ 3 เป็นต้นไปดอกเบี้ยสินเชื่อของเราก็จะปรับเป็นแบบลอยตัวตามค่า MRR , MLR และ MOR ตามที่ธนาคารกำหนดในช่วงนั้นๆครับ
ดังนั้นเห็นไหมครับว่า MRR MLR MOR เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเราเลยครับว่าเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงหรือถูก
MLR (Minimum Loan Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
MOR (Minimum Overdraft Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี
MRR (Minimum Retail Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อที่อยู่อาศัย
โดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกำหนดว่า อัตราดอกเบี้ยของเราจะคงที่ 4% ในช่วง 3 ปีแรก และในปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ยจะเป็น MRR 2 หมายความว่าเราต้องไปดูว่าช่วงนั้น MRR ของธนาคารที่เราขอสินเชื่อเป็นเท่าไร (ถ้าเกิดว่าสมมุติ MRR = 7 ) หมายความว่าดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายในปีที่ 4 จะเป็น 7 2 = 5% ต่อปีครับ ซึ่งในแต่ละช่วง MRR จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะครับแล้วแต่นโยบายของธนาคาแห่งประเทศไทย
โดยอัตราของ MRR , MOR และ MLR จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดครับขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ และที่สำคัญ MRR MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร เราในฐานะผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูล และ รายละเอียดให้รอบคอบก่อนการขอสินเชื่อนะครับ
………………………………………………
ติดต่องาน
Mail: [email protected]
website: https://gurulivingth.com/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCSqymhgsUgVLaQNF6L5gg
Facebook: https://www.facebook.com/gurulivingth/
………………………………………………
mrr mlr ดอกเบี้ยบ้าน สินเชื่อที่อยู่อาศัย mrrคือ mlrคือ morคือ mrrแต่ละธนาคาร mrr2563 mrr2562 mlrแต่ละธนาคาร mlr2563 ดอกเบี้ยบ้าน2563 กู้ซื้อบ้าน
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Pc